วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สิงคโปร์ (Singapore)


สิงคโปร์ (Singapore)

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
ที่ตั้ง : เป็นนครรัฐ ที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ละติจูด 1°17′35″ เหนือ ลองจิจูด 103°51′20″ ตะวันออก ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ อยู่ทางใต้ของรัฐยะโฮร์ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซีย
พื้นที่ : ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะใหญ่น้อยบริเวณใกล้เคียง 63 เกาะ มีพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 697 ตารางกิโลเมตร (ประมาณเกาะภูเก็ต) เกาะสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 42 กิโลเมตร และความกว้างจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ประชากร : 4.35 ล้านคน (พ.ศ.2548) ประกอบด้วยชาวจีน 76.5% ชาวมาเลย์ 13.8% ชาวอินเดีย 8.1% และอื่น ๆ 1.6%
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส
ภาษา : ภาษาทางราชการ คือ ภาษามาเลย์ (ภาษาประจำชาติ) จีนกลาง (แมนดาริน) ทมิฬ และอังกฤษ สิงคโปร์ส่งเสริมให้ประชาชนพูด 2 ภาษา โดยเฉพาะจีนกลาง ในขณะที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่องานและในชีวิตประจำวัน
ศาสนา : พุทธ 42.5% อิสลาม 14.9% คริสต์ 14.5% ฮินดู 4% ไม่นับถือศาสนา 25%
สกุลเงิน : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar : SGD)
อัตราแลกเปลี่ยน (ซื้อ) 23 บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ขาย) 23.5 บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
* ประธานาธิบดี คือ นายเอส อาร์ นาธาน (S R Nathan) (ดำรงตำแหน่งสองสมัยตั้งแต่ 1 กันยายน 2542)
* นายกรัฐมนตรี คือ นายลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) (12 สิงหาคม 2547)
* ประธานาธิบดีโทนี ตัน เค็ง ยัม

 สิงค์โปร์  เป็นประเทศที่สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว   ภายในระยะเวลาสี่ทศวรรษ สิงคโปร์ก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเซีย  แม้สิงคโปร์จะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากนัก แต่ด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากรบุคลากร  ให้มีความรอบรู้ทั้งด้านเทคโนโลยี  ควบคู่กับการปลูกฝังค่านิยมเรื่องความมีระเบียบวินัย  เคารพกฎหมาย  และมีเป้าหมายในการพัฒนาตนเองและประเทศอย่างชัดเจน  ทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีศักยภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านการศึกษา  จึงถือได้ว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วครบทุกด้าน
ประวัติสาธารณรัฐสิงคโปร์
          ในศตวรรษที่ 3 ของประวัติศาสตร์จีน มีการกล่าวถึงสิงคโปร์เป็นครั้งแรก ในชื่อของ โปหลัวชาง (Pu-Luo-Chung) ที่หมายถึงปลายสุดของคาบสมุทร
          เดิมสิงคโปร์เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า เทมาเส็ก (Temasek) หรือ ทูมาสิก (Tumasik) มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง
          ในศตวรรษที่ 13 เจ้าชายแสง นิลา อุตามา (Sang Nila Utama) แห่งปาเลมบัง (Palembang) (นครพระราชอาณาจักรศรีวิชัยประเทศอินโดนีเซีย) เดินทางออกมาแสวงหาสถานที่สำหรับสร้างเมืองใหม่ และได้สร้างเมืองขึ้นที่บริเวณเกาะเทมาเส็กและเปลี่ยนชื่อเป็น สิงหปุระ (Singapura)
          ในพ.ศ.2054 สิงคโปร์ตกเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส
          ในพ.ศ.2434 เซอร์ สแตมฟอร์ด ราฟเฟิลส์ (Sir Stamford Raffles) ตัวแทนของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก (The British East India Company) เดินทางมาตกลงการค้ากับสุลต่านผู้ปกครองสิงคโปร์ โดยมีการลงนามทำข้อตกลงเพื่อให้สิทธิ์แก่อังกฤษในการก่อตั้งสถานีการค้าที่สิงคโปร์และจัดตั้งเป็นท่าเรือปลอดภาษี สำหรับประเทศแถบเอเชียรวมถึงสหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง และต่อมาก็ยึดครองสิงคโปร์ไว้ได้
          ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิงคโปร์ตกเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นแต่หลังจากสิ้นสุดสงคราม สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีกครั้ง
          ในพ.ศ.2506 สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากอังกฤษและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมลายา หรือมาเลเซีย
          ในพ.ศ.2508 สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซีย และประกาศตัวเป็นเอกราช ตั้งแต่นั้นมาสิงคโปร์ก็พยายามพัฒนาและปรับปรุงประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า และประชากรมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่สูงสุด

เมอร์ไลอ้อน ( สิงโตทะเล)

          เมอร์ไลออน(Merlion) หรือสิงโตทะเล รูปปั้นนี้มีหัวเป็นสิงโต ร่างเป็นปลา ยืนอยู่บนยอดคลื่น ออกแบบขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ (Singapore Tourism Board) ในปีค.ศ. 1964 และทั่วโลกก็ถือกันว่าสิงโตทะเลตัวนี้คือเครื่องหมายประจำชาติสิงคโปร์
สิงโตตัวนี้สูง 806 เมตร หนัก 70 ตัน ทำจากวัสดุจำพวกซีเมนต์ โดยช่างฝีมือชาวสิงคโปร์ ส่วนสิงโตทะเลตัวที่สองจะมีขนาดเล็ก โดยมีความสูง 2 เมตร หนัก 3 ตัน แต่เดิมรูปปั้นนี้ตั้งอยู่ที่สวนสิงโตทะเล (Merlion Park) ผู้ออกแบบเมอร์ไลออนคือนายฟราเซอร์ บรูนเนอร์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแวนคลีฟ
      


การเมืองการปกครอง

          สิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี) มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ สภาบริหาร รัฐสภา และสภาตุลาการ
 เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ
          สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีพื้นที่จำกัดและมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอยู่น้อย สินค้าส่งออกที่สำคัญจึงเป็นพวกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า และส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญก็จะเป็นพวก พลังงาน อาหาร และวัตถุดิบในงานอุตสาหกรรม เช่น ยางพารา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น