วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประเทศไทย (Thailand)

ประเทศไทย (Thailand)


ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง
พื้นที่ : 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
ประชากร : 64.7 ล้านคน (2551)
ภูมิอากาศ : เป็นแบบเขตร้อน อากาศร้อนที่สุดในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมเป็นฤดูร้อน โดยจะมีฝนตกและเมฆมากจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมเป็นฤดูฝน ส่วนในเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคม อากาศแห้งและหนาวเย็นจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นฤดูหนาว ยกเว้นภาคใต้ที่มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีจึงมีแค่สองฤดูคือฤดูร้อนกับฤดูฝน
ภาษา : ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย แม้ว่ายังจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม ศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1
สกุลเงิน : บาท (Baht : THB)


ระบอบการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
* พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร (His Majesty King Bhumibol Adulyadej)
* นายกรัฐมนตรี คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (Mr.Abhisit Vejjajiva)   (17 ธันวาคม พ.ศ.2551)
* นายกรัฐมนตรี คือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร   5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เวียดนาม (Vietnam)

เวียดนาม (Vietnam)


ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)
ที่ตั้ง : เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออก
พื้นที่ : 331,689 ตารางกิโลเมตร (0.645 เท่าของประเทศไทย)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย (Hanoi)
ประชากร : ประมาณ 86.1 ล้านคน (กรกฎาคม 2551) เป็น เวียด 80% เขมร 10 %(บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ) ต่าย 1.9% ไท 1.74% เหมื่อง 1.49% ฮั้ว(จีน) 1.13% นุง 1.12% ม้ง 1.03%
ภูมิอากาศ : เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณ 84 % ตลอดปี มีปริมาณฝน จาก 120 ถึง 300 เซนติเมคร(47 ถึง 118 นิ้ว) และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5°C (41°F) ถึง 37°C (99°F)
ภาษา : ภาษาเวียดนาม (Vietnamese) เป็นภาษาราชการ ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2463 วงการวิชาการเวียดนามได้ลงประชามติที่จะใช้ตัวอักษรโรมัน (quoc ngu) แทนตัวอักษรจีน (Chu Nom) ในการเขียนภาษาเวียดนาม
ศาสนา : ส่วนใหญ่ชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายานสูงถึงร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร ร้อยละ 15 นับถือศาสนาคริสต์ ที่เหลือนับถือลัทธิขงจื้อมุสลิม
สกุลเงิน : ด่อง (Dong : VND)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 461 ด่อง/ 1 บาท (มกราคม 2550)

ระบอบการปกครอง : ระบอบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
* ประมุข-ประธานาธิบดี คือ นายเหงียน มินห์ เจี๊ยต (Nguyen Minh Triet) (27 มิถุนายน 2549)
* หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายเหงียน ถัน ดุง (Nguyen Tan Dung)
* เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ คือ นายหน่ง ดึ๊ก หมั่น (Nong Duc Manh)
* ประธานาธิบดีเจือง เติ๋น ซาง
         ประเทศเวียดนาม  มีชื่ออย่างเป็นทางการ  คือ  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam)  ได้รับการขนานนามให้เป็น  "รอยยิ้มแห่งอาเซียน"  ตั้งอยุ่คาบสมุทรอินโดจีน  มีพรมแดนติดกับประเทศจีนทางทิศเหนือ  ติดกับประเทศลาวและประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันตก  ส่วนทางทิศตะวันออกติดอ่าวตังเกี๋ย  และทะเลจีนใต้
ซึ่งในภาษาเวียดนามเรียกว่าทะเลจีนใต้ว่า  ทะเลตะวันออก  ประเทศเวียดนามมีประชากรมากกว่า  98  ล้านคน  ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ  13  ของโลก
               เวียดนาม  แม้จะไม่มีเขตแดนติดต่อกัน   แต่ชาวญวนกับชาวไทยก็มีความสัมพันธ์กันมาเนิ่นนาน  นับตั้งแต่สมัยโบราณ  มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4  ไทยกับญวนมีการกระทบกระทั่งกัน  ด้วยเหตุการณ์ทางด้านการเมืองการปกครอง  ซึ่งระดับผู้ปกครองประเทศเคยลี้ภัยมาพึ่งพิง
               เมื่อสมัยกอบกู้เอกราช  โฮจิมินห์เองก็เคยหลยมาอาศัยอยู่ที่จังหวัดนครพนม  นอกจากนครพนมแล้ว  ทางจังหวัดอีสานหลายจังหวัดเป็นที่รองรับการอพยพเข้ามาอาศัยของชาวญวน ที่หนีร้อนมาพึ่งเย็น  ในยุคล่าอาณานิคม  ไทยก็เป็นที่หลบภัยอย่างดี  มีน้ำใจเอื้อเฟื้อแก่เพื่อนบ้านเสมอ
               ชาวญวนมีน้ำอดน้ำทน  ขยันหมั่นเพียร  แม้จะผ่านสงครามอันทำให้บ้านเมืองเสียหาย  แต่ไม่นานนัก  เวียดนามก็สามารถบูรณะบ้านเมืองขึ้นได้สลัดความล้าหลังทิ้ง  แทบไม่เหลือเวียดนามสมัยเก่าก่อน
               แต่สิ่งหนึ่งที่เวียดนามไม่เปลี่ยก็คือ  สังคม  วัฒนธรรม  ยังยึดมั่นอยู่ดุจเดิม  แม้จะผ่านสงครามโลกมาถึง  2  ครั้ง  เป็นสงครามกอบกู้เอกสารจากฝรั่งเศษ  และหลังเป็นสงครามปลดแอกกับสหรัฐอเมริกา  บอกช้ำ  แต่เวียดนามก็ฟื้นตัวเร็ว  ชาวเวียดนามมีความเด็ดเดี่่ยว  ยึดมั่นกับประเพณีวัฒนธรรมที่เหนียวแน่น
               ความยึดมั่นอันเหนียวแน่นนี้เอง  เป็นเสมือนเกราะกำบังให้ชาวเวียดนามยืนยงอยู่ได้ตราบจนถึงทุกวันนี้  สังคม  วัฒนธรรมของเวียดนามเข้มแข็ง  ผู้คนมีจิตใจมั่นคง  ช่วยให้ความเป็นชาติยืนยงอยุ่ได้อย่างถาวร
"เอกราช  อิสรภาพ   ความสุข"
               คือ  คำขวัญประจำชาติของเวียดนาม  ประเทศที่มีบทบาทสำคัญและเป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคอินโดจีน  การบริโภคในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง  มีศักยภาพการผลิตสูง
แรงงานในประเทศมีคุณภาพและค่าจ้างแรงงานยังคงต่ำทั้งนี้เวียดนามตั้งเป้าหมายเป็นประเทศอุตสาหกรรมภายในปี  พ.ศ. 2563

สิงคโปร์ (Singapore)


สิงคโปร์ (Singapore)

ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
ที่ตั้ง : เป็นนครรัฐ ที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ละติจูด 1°17′35″ เหนือ ลองจิจูด 103°51′20″ ตะวันออก ตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ อยู่ทางใต้ของรัฐยะโฮร์ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของเกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซีย
พื้นที่ : ประกอบด้วยเกาะสิงคโปร์และเกาะใหญ่น้อยบริเวณใกล้เคียง 63 เกาะ มีพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 697 ตารางกิโลเมตร (ประมาณเกาะภูเก็ต) เกาะสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 42 กิโลเมตร และความกว้างจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ประชากร : 4.35 ล้านคน (พ.ศ.2548) ประกอบด้วยชาวจีน 76.5% ชาวมาเลย์ 13.8% ชาวอินเดีย 8.1% และอื่น ๆ 1.6%
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฝนตกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.8 องศาเซลเซียส
ภาษา : ภาษาทางราชการ คือ ภาษามาเลย์ (ภาษาประจำชาติ) จีนกลาง (แมนดาริน) ทมิฬ และอังกฤษ สิงคโปร์ส่งเสริมให้ประชาชนพูด 2 ภาษา โดยเฉพาะจีนกลาง ในขณะที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่องานและในชีวิตประจำวัน
ศาสนา : พุทธ 42.5% อิสลาม 14.9% คริสต์ 14.5% ฮินดู 4% ไม่นับถือศาสนา 25%
สกุลเงิน : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar : SGD)
อัตราแลกเปลี่ยน (ซื้อ) 23 บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ขาย) 23.5 บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
* ประธานาธิบดี คือ นายเอส อาร์ นาธาน (S R Nathan) (ดำรงตำแหน่งสองสมัยตั้งแต่ 1 กันยายน 2542)
* นายกรัฐมนตรี คือ นายลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) (12 สิงหาคม 2547)
* ประธานาธิบดีโทนี ตัน เค็ง ยัม

 สิงค์โปร์  เป็นประเทศที่สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว   ภายในระยะเวลาสี่ทศวรรษ สิงคโปร์ก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเซีย  แม้สิงคโปร์จะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากนัก แต่ด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากรบุคลากร  ให้มีความรอบรู้ทั้งด้านเทคโนโลยี  ควบคู่กับการปลูกฝังค่านิยมเรื่องความมีระเบียบวินัย  เคารพกฎหมาย  และมีเป้าหมายในการพัฒนาตนเองและประเทศอย่างชัดเจน  ทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีศักยภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านการศึกษา  จึงถือได้ว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วครบทุกด้าน
ประวัติสาธารณรัฐสิงคโปร์
          ในศตวรรษที่ 3 ของประวัติศาสตร์จีน มีการกล่าวถึงสิงคโปร์เป็นครั้งแรก ในชื่อของ โปหลัวชาง (Pu-Luo-Chung) ที่หมายถึงปลายสุดของคาบสมุทร
          เดิมสิงคโปร์เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า เทมาเส็ก (Temasek) หรือ ทูมาสิก (Tumasik) มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง
          ในศตวรรษที่ 13 เจ้าชายแสง นิลา อุตามา (Sang Nila Utama) แห่งปาเลมบัง (Palembang) (นครพระราชอาณาจักรศรีวิชัยประเทศอินโดนีเซีย) เดินทางออกมาแสวงหาสถานที่สำหรับสร้างเมืองใหม่ และได้สร้างเมืองขึ้นที่บริเวณเกาะเทมาเส็กและเปลี่ยนชื่อเป็น สิงหปุระ (Singapura)
          ในพ.ศ.2054 สิงคโปร์ตกเป็นเมืองขึ้นของโปรตุเกส
          ในพ.ศ.2434 เซอร์ สแตมฟอร์ด ราฟเฟิลส์ (Sir Stamford Raffles) ตัวแทนของบริษัทบริติชอินเดียตะวันออก (The British East India Company) เดินทางมาตกลงการค้ากับสุลต่านผู้ปกครองสิงคโปร์ โดยมีการลงนามทำข้อตกลงเพื่อให้สิทธิ์แก่อังกฤษในการก่อตั้งสถานีการค้าที่สิงคโปร์และจัดตั้งเป็นท่าเรือปลอดภาษี สำหรับประเทศแถบเอเชียรวมถึงสหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลาง และต่อมาก็ยึดครองสิงคโปร์ไว้ได้
          ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สิงคโปร์ตกเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นแต่หลังจากสิ้นสุดสงคราม สิงคโปร์ก็กลายเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอีกครั้ง
          ในพ.ศ.2506 สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากอังกฤษและเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมลายา หรือมาเลเซีย
          ในพ.ศ.2508 สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซีย และประกาศตัวเป็นเอกราช ตั้งแต่นั้นมาสิงคโปร์ก็พยายามพัฒนาและปรับปรุงประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า และประชากรมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่สูงสุด

เมอร์ไลอ้อน ( สิงโตทะเล)

          เมอร์ไลออน(Merlion) หรือสิงโตทะเล รูปปั้นนี้มีหัวเป็นสิงโต ร่างเป็นปลา ยืนอยู่บนยอดคลื่น ออกแบบขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ (Singapore Tourism Board) ในปีค.ศ. 1964 และทั่วโลกก็ถือกันว่าสิงโตทะเลตัวนี้คือเครื่องหมายประจำชาติสิงคโปร์
สิงโตตัวนี้สูง 806 เมตร หนัก 70 ตัน ทำจากวัสดุจำพวกซีเมนต์ โดยช่างฝีมือชาวสิงคโปร์ ส่วนสิงโตทะเลตัวที่สองจะมีขนาดเล็ก โดยมีความสูง 2 เมตร หนัก 3 ตัน แต่เดิมรูปปั้นนี้ตั้งอยู่ที่สวนสิงโตทะเล (Merlion Park) ผู้ออกแบบเมอร์ไลออนคือนายฟราเซอร์ บรูนเนอร์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแวนคลีฟ
      


การเมืองการปกครอง

          สิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี) มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ สภาบริหาร รัฐสภา และสภาตุลาการ
 เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญ
          สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีพื้นที่จำกัดและมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอยู่น้อย สินค้าส่งออกที่สำคัญจึงเป็นพวกเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า และส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญก็จะเป็นพวก พลังงาน อาหาร และวัตถุดิบในงานอุตสาหกรรม เช่น ยางพารา

ฟิลิปปินส์ (Philippines)

ฟิลิปปินส์ (Philippines)


ชื่อทางการ : สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
ที่ตั้ง : เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประกอบด้วยเกาะจำนวนทั้งสิ้น 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม. และมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก
- ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้
- ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก
- อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,800 กิโลเมตร
พื้นที่ : 298,170 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 3 ใน 5 ของประเทศไทย)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา (Manila)
ประชากร : 88.7 ล้านคน (พ.ศ.2550)
ภูมิอากาศ : มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู ได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปรสชั่น บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือ เมืองบาเกียว เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาษา : มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ในปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปิโน (Filipino) และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ศาสนา : ร้อยละ 92 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ มุสลิมร้อยละ 5 พุทธและอื่น ๆ ร้อยละ 3
สกุลเงิน : เปโซ (Peso : PHP)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 0.72 บาท/ 1 เปโซ (ขาย) 0.75 บาท/ 1 เปโซ (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ ๖ ปี)
* ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นางกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย (Gloria Macapagal Arroyo) ซึ่งได้รับการรับรองให้เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547
* ประธานาธิบดีเบนิกโน อากีโนที่ 3
 ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ  ประมาณ 7,100 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของเกาะบอร์เนียว และอยู่ทางใต้ของเกาะไต้หวัน หมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ห่างจากผืนแผ่นดินใหญ่ ของทวีปเอเซียประมาณ 970 กิโลเมตร

หมู่เกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร มีเกาะใหญ่ 11 เกาะ ซึ่งมีพื้นที่รวมกันเท่ากับร้อยละ 90 ของพื้นที่ทั้งหมด เกาะต่าง ๆ ได้มีการตั้งชื่อแล้วไม่ถึงครึ่งของจำนวนเกาะทั้งหมด มีคนอยู่อาศัยบนเกาะต่าง ๆ เพียงประมาณ 900 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะลูซอน อยู่ทางเหนือ และเกาะมินดาเนา ที่อยู่ทางใต้

เกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์ ถ้าวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ จะมีความยาวประมาณ 1,850 กิโลเมตร ถ้าวัดจากทิศตะวันออก ถึงทิศตะวันตก จะมีความยาวประมาณ 1,100 กิโลเมตร เกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 3 หมู่คือ
  • หมู่เหนือ ประกอบด้วย สองเกาะใหญ่ ๆ คือ เกาะลูซอน (Luzon) และเกาะะมินโดโร (Mindoro)
  • หมู่กลาง เรียกว่า Visa yas ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ประมาณ 7,000 เกาะ
  • หมู่เกาะใต้ ประกอบด้วย เกาะมินดาเนา (Mindanao) และ Sulu Archipa lago หมายถึง หมู่เกาะต่าง ๆ ประมาณ 400 เกาะ ซึ่งอยู่เรียงรายทางใต้ของเกาะมินดาเนา ไปจนถึงทางทิศตะวันตกของเกาะบอร์เนียว
เกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์ ที่มีพื้นที่ 1 ตารางไมล์ หรือมากกว่าเล็กน้อยมีอยู่ไม่ถึง 500 เกาะ ตลอดชายฝั่งทะเลมีอ่าวเล็ก อ่าวใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นแนวฝั่งที่ยาว กว่าแนวฝั่งของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกฝั่งตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ มีร่องลึกมินดาเนา ซึ่งเป็นทะเลที่มีความลึกมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ คือ มีความลึกมากกว่า 10,400 เมตร

ภูเขาและเทือกเขา
เทือกเขาบนหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกภูเขาไฟ ที่ตั้งรายล้อมเป็นวงกลม ในมหาสมุทรแปซิฟิค มีแม่น้ำและทะเลสาบ อยู่เป็นจำนวนมาก อยู่ระหว่างช่องเขา ภูเขาที่สูงที่สุดในฟิลิปปินส์คือ ภูเขาอาโป (Apo) มีความสูงถึง 2,950 เมตร จากระดับน้ำทะเล ตั้งอยู่บนเกาะมินดาเนา

ฟิลิปปินส์มีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับอีก 50 แห่ง และมีภูเขาหินปูนอยู่กระจัดกระจาย ตามบริเวณเกาะต่าง ๆ และยิ่งไปกว่านั้น เกาะฟิลิปปินส์ ยังตั้งอยู่ในแนวแผ่นดินไหวของโลกอีกด้วย จึงเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้นบ่อย ๆ

ที่ราบระหว่างเนินเขาต่าง ๆ
มีดินที่อุดมสมบูรณ์ดี เพราะได้ปุ๋ยจากเถ้าถ่านภูเขาไฟ เหมาะแก่การเพาะปลูก

แม่น้ำสำคัญ
แม่น้ำในฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ มีขนาดเล็ก ๆ และสั้นคล้ายญี่ปุ่น และมีอยู่เป็นจำนวนมาก แม่น้ำใหญ่ ๆ มีอยู่ไม่กี่สาย แม่น้ำสายใหญ่ ๆ บางสายใช้เป็นเส้นทางเดินเรือกลไฟ และเรืออื่น ๆ แม่น้ำที่สำคัญของฟิลิปปินส์คือ
  • แม่น้ำคากายัน (Cagayan) อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียเหนือของเกาะลูซอน เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ มีความยาวประมาณ 320 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้ ให้น้ำสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม ประมาณ 16,00 ตารางไมล์
  • แม่น้ำอักโน (Agno) เป็นแม่น้ำที่ไหลอยู่ตามบริเวณเทือกเขาตอนกลางของเกาะลูซอน
  • แม่น้ำปามปันกา (Pampanga) เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล ทางภาคเหนือ และภาคกลางของเกาะลูซอน แล้ไปออกทะเลทางเหนือสุดของอ่าวมนิลา
  • แม่น้ำปาสิก (Pasig) แม่น้ำนี้มีความสำคัญเนื่องจากบนปากแม่น้ำสายนี้ เป็นที่ตั้งของกรุงมนิลา ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่า และเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ เป็นทางระบายน้ำของทะเลสาบน้ำจืด ลากูนา เดอ เบย์ (Laguna de bay) นอกจากนั้นยังเป็นเส้นทางการค้าของเรือกลไฟที่ขนส่งสินค้าระหว่าง กรุงมนิลา กับบริเวณที่อุดมสมบูรณ์บนฝั่งทะเลสาบ
  • แม่น้ำมินดาเนา เป็นแม่น้ำสำคัญบนเกาะมินดาเนา
ภาษาจากความซับซ้อนของประวัติความเป็นมาและเชื้อชาติ ทำให้ฟิลิปปินส์มีภาษาพูดในปัจจุบันมากกว่า 100 ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่มีรากเง้ามาจากภาษามาเลย์ ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดได้แก่ ภาษาตากาลอก (Tagalog) ซีบูโน (Cebuno) โอลอนโก (Ilongo) วาเรย์ - วาเรย์ (Waray - Waray) อิโลคาโน (Ilocano) ปามปันโก (Pampanco) และไบกอล (Bikol)
สมัยที่ฟิลิปปินส์ตกอยู่ในการปกครองของสเปญ เป็นเวลาประมาณ 300 ปีนั้น ภาษาทางราชการคือ ภาษาสเปญ และเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้ามาปกครองต่อจากสเปญ เป็นเวลาอีกประมาณ 50 ปี ภาษาทางราชการก็เปลี่ยนมาเป็นภาษาอังกฤษ ปัจจุบันภาษาราชการคือ ภาษาฟิลิปปินส์ ซึ่งแปลงมาจากภาษากาตาลอก อันมีรากฐานมาจากภาษามาเลย์ และเป็นภาษาบังคับในโรงเรียน แต่เนื่องจากทั่วประเทศ มีภาษาแตกต่างกัน หลายภาษาจึงให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อกลาง

ศาสนาชาวพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ มีความเชื่อถือในพระเจ้าที่เรียกว่า Bathalang Majkapall เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าอื่น ๆ อีกมาก ที่มีอำนาจรองลงมา
คนพื้นเมืองจะมีพิธีทางศาสนาด้วยการสวดมนต์ และบูชายัญต่อเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยมีนักบวชของนิกายนั้น ๆ เป็นผู้ทำพิธี นอกจากเทพเจ้าแล้ว ชาวพื้นเมืองยังนับถือสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ดาวตก ผีพุ่งใต้ และรวมไปถึงการนับถือบูชาสัตว์บางชนิด เช่น นก และจรเข้ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีต้นไม้ใหญ่ ที่มีอายุมาก แม่น้ำ ก้อนหิน ที่ถูกธรรมชาติตกแต่งไว้อย่างสวยงาม และแปลก นอกจากนั้น ยังเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้ว วิญญาณก็จะต้องท่องเที่ยว จะได้ขึ้นสวรรค์ถ้าคนนั้นมีพฤติกรรมดี ส่วนผู้ที่กระทำชั่ว ดุร้าย โหดเหี้ยม ไม่ยุติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ ก็จะถูกพระเจ้าลงโทษ และนำไปสู่นรก ความเชื่อในยุคโบราณดังกล่าวยังคงมีอยู่ เป็นมรดกสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน สังเกตเห็นได้จากงานเทศกาล และพิธีการต่าง ๆ ของชาวฟิลิปปินส์

ศาสนาอิสลาม เริ่มเข้ามาสู่คนพื้นเมืองฟิลิปปินส์ เมื่อคริสตศตวรรษที่ 14 โดยชนชาวอาหรับได้เข้ามาระหว่างที่มีการติดต่อค้าขายกับฟิลิปปินส์ ปัจจุบันศาสนาอิสลามเริ่มมีบทบาท และอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวฟิลิปปินส์เป็นอย่างมาก พวกนี้จะเรียกตนเองว่า โมโร ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งอยู่ในเกาะมินดาเนา และเกาะซูลู เป็นส่วนมาก

ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิค เป็นนิกายที่สเปญนำเข้ามเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ ในระหว่างที่สเปญปกครองฟิลิปปินส์ คนฟิลิปปินส์ ให้การยอมรับนับถือนิกายนี้มาก และศาสนาคริสต์มีอิทธิพลในวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์มาก นอกจากนี้การนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิค ยังสามารถมีสิทธิในการยกเว้นภาษี และได้รับผลประโยชน์อื่น ๆ อีกด้วย เพราะบาทหลวงจะเป็นผู้คอยปกป้องบุคคลเหล่านั้นตลอดเวลา ด้วยสาเหตุดังกล่าว คริสตศาสนา จึงเป็นศาสนาประจำชาติ ของฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน นิกายโรมันคาธอลิค มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 83 นิกายโปรเตสแตนท์ประมาณร้อยละ 3 รวมเป็นประมาณร้อยละ 86

หลังจากที่สหรัฐ ฯ เข้ามามีบทบาทในการปกครองฟิลิปปินส์แล้ว สหรัฐ ฯ ได้ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ชาวฟิลิปปินส์อย่างมาก และเปิดโอกาสให้ประชาชน มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา และได้นำเอานิกายโปรเตสแตนท์เข้ามาเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ด้วย จากสถิติของประชากรที่นับถือศาสนาต่าง ๆ นอกจากศาสนาคริสต์ แล้ว มีผู้นับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ไม่นับถือศาสนาใดประมาณร้อยละ 2

พม่า (Myanmar)

พม่า (Myanmar)


ชื่อทางการ : สหภาพพม่า (Union of Myanmar)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์
- ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบตและจีน
- ทางตะวันออกติดกับลาว
- ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดกับไทย
- ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย
- ทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ติดกับทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล
พื้นที่ : 676,577 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw) (ภาษาพม่า) หรือบางครั้งสะกดเป็น เนปีตอ (Nay Pyi Taw) (มีความหมายว่า มหาราชธานี) เป็นเมืองหลวงและเมืองศูนย์กลางการบริหารของสหภาพพม่าที่ได้ย้ายมาจากย่างกุ้ง ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจัตปแว (Kyatpyae) ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองเปียนมานา (Pyinmana) ในเขตมัณฑะเลย์ สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาโดยรอบ เมืองนี้เป็นเมืองเดียวของประเทศพม่าที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่เมืองหลวงเก่าย่างกุ้งจะไฟฟ้าดับอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เมืองนี้อยู่ห่างย่างกุ้งไปทางเหนือประมาณ 320 กิโลเมตร ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งทางการพม่านั้นต้องการ เมืองนี้เริ่มมีการสร้างสิ่งต่าง ๆ บ้างแล้ว เช่น อพาร์ตเมนท์ ซึ่งคนพอมีเงินที่จะมาซื้ออยู่อาศัย เริ่มมีประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่หลายหมื่นคน แต่เมืองหลวงแห่งนี้ ยังไม่มีโรงเรียน โรงพยาบาล เปรียบเสมือนเมืองทหาร ซึ่งกำลังก่อสร้างต่อไป
ประชากร : ประมาณ 56 ล้านคน (พ.ศ.2548) มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลัก ๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า (ร้อยละ 68) ไทยใหญ่ (ร้อยละ 8 ) กะเหรี่ยง (ร้อยละ 7) ยะไข่ (ร้อยละ 4) จีน (ร้อยละ 3) มอญ (ร้อยละ 2) อินเดีย (ร้อยละ 2)
ภูมิอากาศ : สภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นเทือกเขาสูงทางตอนกลางและตอนเหนือของประเทศจะมีอากาศแห้งและร้อนมากในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวอากาศจะเย็นมาก ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำจะแปรปรวนในช่วงเปลี่ยนฤดู เพราะได้รับอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นเสมอ ทำให้บริเวณนี้มีฝนตกชุกหนาแน่นมากกว่าตอนกลางหรือตอนบนของประเทศที่เป็นเขตเงาฝน ข้อแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว คือ ควรเดินทางในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ เพราะฝนไม่ตก และอากาศไม่ร้อนจนเกินไปนัก
ภาษา : ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517) ร้อยละ 90 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5 ศาสนาอิสลามร้อยละ 3.8 ศาสนาฮินดูร้อยละ 0.05
สกุลเงิน : จ๊าด (Kyat : MMK)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 25 จ๊าดต่อ 1 บาท หรือประมาณ 1,300 จ๊าดต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (มิถุนายน 2549)
ระบอบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC)
* ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (ประมุขประเทศ) คือ พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe) (เมษายน 2535)
* นายกรัฐมนตรี (หัวหน้ารัฐบาล) คือ พล.อ.เทียน เส่ง (Gen. Thein Sein) นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 ของพม่า (พ.ศ. 2550) 

 ประเทศพม่า (Burma หรือ Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (Republic of the Union of Myanmar) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีนซึ่งมีขนาดใหญ่ที่ สุด และมีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับสองประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลก ได้แก่ จีน และอินเดีย แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นMyanmar ชื่อ ใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmar ซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่า Myanma Naingngandaw ไม่ว่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลทหารอย่างไรก็ตาม คำว่าเมียนมาร์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Myanmar แต่ความจริงแล้ว ชาวพม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า มยะหม่า/เมียนมา ส่วนสื่อไทยมักสะกดว่า เมียนมาร์
การแบ่งเขตการปกครอง
ประเทศพม่าแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 รัฐ (states) และ 7 เขต (divisions) ดังนี้
• รัฐ (States)
1.รัฐชิน (Chin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองฮะคา
2.รัฐกะฉิ่น (Kachin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองมิตจีนา
3.รัฐกะเหรี่ยง (Kayin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองปะอาน
4.รัฐกะยา (Kayah) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองหลอยก่อ
5.รัฐมอญ (Mon) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองมะละแหม่ง
6.รัฐยะไข่ (Rakhine) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองซิตตเว
7.รัฐฉานหรือไทใหญ่ (Shan) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองตองยี
• เขต (Divisions)
1.เขตอิรวดี (Ayeyarwady) มีเมืองเอกชื่อ เมืองพะสิม
2.เขตพะโค (Bago) มีเมืองเอกชื่อ เมืองพะโค
3.เขตมาเกว (Magway) มีเมืองเอกชื่อ เมืองมาเกว
4.เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) มีเมืองเอกชื่อ เมืองมัณฑะเลย์
5.เขตสะกาย (Sagaing) มีเมืองเอกชื่อ เมืองสะกาย
6.เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) มีเมืองเอกชื่อ เมืองทวาย
7.เขตย่างกุ้ง (Yangon) มีเมืองเอกชื่อ เมืองย่างกุ้ง

ประชากร

       จำนวนประชากรประมาณ 50.51 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 61 คน/ตร.กม. พม่ามีประชากรหลายเชื้อชาติ จึงเกิดเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อย มีชาติพันธุ์พม่า 63% มอญ 5% ยะไข่ 5% กะเหรี่ยง 3.5% คะฉิ่น 3% ไทย 3% ชิน 1%

ภาษา
นอกจากภาษาพม่า ซึ่งเป็นภาษาราชการแล้ว พม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษา โดยแบ่งตามตระกูลภาษาได้ดังนี้
  • ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาปะหล่อง ภาษาปะลัง (ปลัง) ภาษาประรวก และภาษาว้า
  • ตระกูลภาษาซิโน-ทิเบตัน ได้แก่ ภาษาพม่า (ภาษาราชการ) ภาษากะเหรียง ภาษาอารากัน (ยะไข่) ภาษาจิงผ่อ (กะฉิ่น) และภาษาอาข่า
  • ตระกูลภาษาไท-กะได ได้แก่ ภาษาฉาน (ไทใหญ่) ภาษาไทขึน ภาษาไทลื้อ และภาษาไทคำตี่
  • ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ได้แก่ ภาษาม้งและภาษาเย้า (เมี่ยน)
  • ตระกูลภาษาออสโตรนีเชี่ยน ได้แก่ ภาษามอเก็นและภาษาสะลน

ศาสนา
• พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517 เพราะมีผู้นับถือศาสนาพุทธ 92.3% ศาสนาคริสต์ 4% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาฮินดู 0.7%

มาเลเซีย (Malaysia)

มาเลเซีย (Malaysia)


มาเลเซีย (Malaysia)

ชื่อทางการ
 : มาเลเซีย (Malaysia)
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยดินแดนสองส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น
- ส่วนแรก คือ มาเลเซียตะวันตก ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ประกอบด้วย 11 รัฐ คือ ปะหัง สลังงอร์ เนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร์ เประ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง เกดะห์ และปะลิส
- ส่วนที่สอง คือ มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว (กาลิมันตัน) มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน ประกอบด้วย 2 รัฐ คือ ซาบาห์ และซาราวัก
- นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครองภายใต้สหพันธรัฐอีก 3 เขต คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (เมืองหลวง) เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
พื้นที่ : 330,257 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
ประชากร : 26.24 ล้านคน (ปี 2549) ประกอบด้วย ชาวมาเลย์กว่า 40% ที่เหลืออีกกว่า 33% เป็นชาวจีน อีก 10% เป็นชาวอินเดีย อีก 10% เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว อีก 5% เป็นชาวไทย และอื่นๆอีก 2%
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภาษา : มาเลย์ (Bahasa Malaysia เป็นภาษาราชการ) อังกฤษ จีน ทมิฬ
ศาสนา : อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ (ร้อยละ 19.2) คริสต์ (ร้อยละ 11.6) ฮินดู (ร้อยละ 6.3) อื่น ๆ (ร้อยละ 2.5)
สกุลเงิน : ริงกิตมาเลเซีย (Malaysian Ringgit : MYR)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 9.25 บาท/ 1 ริงกิต (ขาย) 10 บาท/1 ริงกิต (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)
* ประมุข คือ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน (พระนามเต็ม: อัล วาติกูร บิลลาห์ ตวนกู มิซาน ไซนัล อาบิดีน อิบนี อัลมาร์ฮุม สุลต่าน มาห์มัด อัล มัคตาฟิ บิลลาห์ ชาห์ ภาษาอังกฤษ : DYMM Al-Wathiqu Billah Tuanku Mizan Zainal Abidin Ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah) จากรัฐตรังกานู ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 13 ของมาเลเซีย (ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2549)
* นายกรัฐมนตรี คือ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ บิน ฮาจิ อาหมัด บาดาวี (Dato’ Seri Abdullah bin Haji Ahmad Badawi
* นาจิบ ราซัค 

ลาว (Laos)

 ลาว (Laos)

     
ชื่อทางการ :   สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People’s Democratic Republic)
ที่ตั้ง : เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก
พื้นที่ : 236,800 ตารางกิโลเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย) แบ่งเป็น 16 แขวง และ 1 เขตปกครองพิเศษ (นครหลวงเวียงจันทน์)
เมืองหลวง : นครเวียงจันทน์ (Vientiane) (เป็นเขตเมืองหลวงเหมือน กทม. ส่วนแขวงเวียงจันทน์เป็นอีกแขวงหนึ่งที่อยู่ติดกับนครหลวงเวียงจันทน์)
ประชากร : 5.6 ล้านคน (ปี 2548) ประกอบด้วย ลาวลุ่มร้อยละ 68 ลาวเทิงร้อยละ 22 ลาวสูงร้อยละ 9 รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
ภูมิอากาศ : อุณหภูมิเฉลี่ย 29-33 องศา ต่ำสุด 10 องศา ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,715 มม.ต่อปี ความชื้น 70-80 %
ภาษา : ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ
ศาสนา : ร้อยละ 75 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 16-17 นับถือผี ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ (ประมาณ 100,000 คน) และอิสลาม (ประมาณ 300 คน)
สกุลเงิน : กีบ (Kip)
อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท : 276 กีบ (พฤษภาคม 2551)
ระบอบการปกครอง : ระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยพรรคการเมืองเดียวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ คือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
* ประมุข-ประธานประเทศ (ในภาษาลาว หมายถึง ตำแหน่งประธานาธิบดี) คือ พลโท จูมมะลี ไซยะสอน (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
* หัวหน้ารัฐบาล-นายกรัฐมนตรี คือ นายบัวสอน บุบผาวัน (8 มิถุนายน พ.ศ. 2549)
* ประธานาธิบดีจูมมะลี ไซยะสอน 
 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ เรียกโดยย่อว่า สปป.ลาว ตั้งอยู่ในดินแดนสุวรรณหรืออินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14-23 องศาเหนือและลองติจูดที่ 100-108 องศา เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² ตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ดังนี้ ประเทศ จีน ทางด้านทิศเหนือ (1 กิโลเมตร) ประเทศไทยทางด้านทิศใต้ และ ทิศตะวันตก (1,754 กิโลเมตร) ประเทศกัมพูชา ทางด้านทิศใต้ (541 กิโลเมตร) ประเทศเวียตนาม ทางด้านทิศตะวันออก (2.130 กิโลเมตร) ประเทศเมียนมาร์ ทางด้นทิศตะวันตก (235 กิโลเมตร)

คำขวัญ
สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร

ภูมิประเทศของลาวอาจแบบได้เป็น 3 เขต คือ
ในอดีตที่ผ่านมาประเทศลาวมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก แต่ต่อมาภายหลังมาเสียดินแดนบางส่วนให้กับสยาม จนกระทั่งเข้าสู่ยุคปลดปล่อยจากการปกครองของฝรั่งเศส ทำให้ประเทศลาวมีเนื้อที่เหลือเพียง 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญถึง 13 สาย ด้วยกัน อาทิเช่น น้ำคาน น้ำงึม น้ำซับ น้ำแบง ฯลฯ แม่น้ำที่สำคัญที่สุดของลาวและเป็นแม่น้ำนานาชาติคือแม่น้ำโขง หรือที่คนลาวเรียกกันว่า แม่น้ำของ ซึ่งบางส่วนของแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศลาวในแขวงจำปาศักดิ์มีความกว้าง ถึงหนึ่งกิโลเมตร เกิดเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ขวางกลางแม่น้ำโขงคือ น้ำตกคอนตะเพ็ง ซึ่งมีความยาวตามลำน้ำเกือบสิบกิโลเมตร และมีความสูงราว 20 เมตร จากนั้นกระแสน้ำจึงไหลเข้าสู่จังหวัดสะตึงเตรงในประเทศกัมพูชาต่อไป จากเขตแดนลาวมีความยาวทั้งสิ้น 4,500 กิโลเมตร ชายแดนที่ติดกับประเทศไทยมีความยาว 1,730 กิโลเมตร ส่วนใหญ่มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนทั้งสองประเทศ มีความยาวทั้งสิ้น 1,400 กิโลเมตร มีเทือกเขาที่สูง กว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500 เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000 เมตร ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดน กัมพูชา เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง), ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้) เขตที่ราบลุ่ม เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง 3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขด ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง และที่ราบจำปาสักทางภาคใต้ของลาว ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา ทั้งนี้ เมื่อนำเอาพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง วัดความสูงได้ 2,817 เมตร (9,242 ฟุต)

ลักษณะภูมิอากาศ
ประเทศลาวตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ลักษณะทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ตั้งแต่ภาคกลางจนถึงภาคเหนือในแขวงพงสาลีที่มีเขตแดนอยู่ติดกับประเทศจีน ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนและที่ราบสูงอากาศ ค่อนข้างหนาวถึงหนาวจัด ส่วนทางทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นเทือกเขาและที่ราบติดกับประเทศเวียดนาม สำหรับทางตอนใต้สุดมีลักษณะเป็นเทือกเขาติดกับประเทศกัมพูชา ประกับกับที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศลาวมีลักษณะทางภูมิอากาศแบ่งออกได้ 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนเมษายน ฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนมกราคม

การเมือง
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ ซึ่งพรรคนี้เริ่มมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยมเมื่อ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ประธานประเทศ (ประธานาธิบดี) ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวคนปัจจุบัน ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี คือ พลโทจูมมะลี ไซยะสอน (ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวอีก ตำแหน่งหนึ่ง) ส่วนนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือนายบัวสอน บุบผาวัน 

อินโดนีเซีย (Indonesia)

อินโดนีเซีย (Indonesia)




สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
ชื่อทางการ :  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) 
ที่ตั้ง : อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่น ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
พื้นที่ : 1,890,754 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย กว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
  • หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วย เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
  • หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
  • หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
  • อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
เมืองหลวง จาการ์ตา (Jakarta)
ประชากร : ประมาณ 220 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม ซึ่งพูดภาษาต่างกันกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
ภูมิอากาศ : มีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และ ฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)
ภาษา : ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia
ศาสนา : ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือ ศาสนาพุทธ 4
สกุลเงิน รูเปียห์ (Rupiah : IDR) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 2.87 บาท / 1,000 รูเปียห์ (ขาย) 3.32 บาท / 1,000 รูเปียห์ (มกราคม 2552)
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่มีหมู่เกาะมากที่สุด และใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่ ๆ ห้าเกาะ และหมู่เกาะเล็ก ๆ อีกประมาณ 30 หมู่เกาะ รวมแล้วมีอยู่ 13,677 เกาะ เป็นเกาะที่มีคนอยู่อาศัยประมาณ 6,000 เกาะ รูปลักษณะหมู่เกาะจะวางตัวยาวไปตามแนวเส้นศูนย์สูตร คล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งซีกหงาย คำว่าอินโดเนเซีย มาจากคำในภาษากรีกสองคำคือ อินโดซ หมายยถึง อินเดียตะวันออก และนิโซสหมายถึงเกาะ จึงมีความหมายว่า หมู่เกาะอินเดียตะวันออก

หมู่เกาะอินโดนีเซีย อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิค จึงเป็นเสมือนทางเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทร และสะพานเชื่อมระหว่างสองทวีปคือ ทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย

อินโดนีเซียมีพื้นที่ประมาณ 2,000,000 ตารางกิโลเมตร มีพื้นน้ำใหญ่เป็นสี่เท่าของพื้นที่แผ่นดิน อาณาเขตจากตะวันออกไปตะวันตก ยาวประมาณ 5,100 กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,800 กิโลเมตร

เกาะ ใหญ่ทั้งห้าเกาะ ประกอบด้วย เกาะสุมาตรา มีพื้นที่ประมาณ 473,600 ตารางกิโลเมตร  เกาะกาลิมันตัน มีพื้นที่ประมาณ 539,500 ตารางกิโลเมตร (เฉพาะดินแดนของอินโดนีเซีย ซึ่งประมาณสองในสามของพื้นที่เกาะบอร์เนียวทั้งหมด) เกาะสุลาเวสี มีพื้นที่ประมาณ 189,200 ตารางกิโลเมตร  เกาะชวา มีพื้นที่ประมาณ 132,200 ตารางกิโลเมตร และเกาะอิเรียนจายา (อิเรียนตะวันตก) มีพื้นที่ประมาณ 422,000 ตารางกิโลเมตร
หมู่เกาะอินโดนีเซีย แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ ออกได้เป็นสี่ส่วนคือ
  • หมู่เกาะซุนดาใหญ่  ประกอบด้วย เกาะสุมาตรา เกาะชวา กาสิมันตัน และสุลาเวสี
  • หมู่เกาะซุนดาน้อย  รวมเกาะต่าง ๆ จากบาหลีไปทางตะวันออกถึงตะมอร์
  • หมู่เกาะโมลุกกะ (มาลุกุ)  ประกอบด้วย หมู่เกาะที่อยู่ระหว่างเกาะอิเรียนจายา ถึงเกาะสุลาเวสี
  • หมู่เกาะอิเรียนจายา
ประเทศอินโดนีเซีย  มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ดังนี้
  • ทิศเหนือ  ทิศเหนือของเกาะกาลิมันตัน ติดต่อกับรัฐซาราวัคและรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย โดยมีสันเขาเป็นเส้นกั้นพรมแดน
  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะอิเรียนจายา  ติดต่อกับน่านน้ำของประเทศฟิลิปปินส์
  • ทิศตะวันออก  ติดต่อกับประเทศปาปัวนิวกินี
  • ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ติดต่อกับน่านน้ำของประเทศมาเลเซีย โดยมีช่องแคบมะละกาเป็นพรมแดนระหว่างเกาะสุมาตรากับประเทศมาเลเซีย         ภาษา                                                                                                                                                                                                                          ภาษาประจำชาติของอินโดนีเซีย ได้แก่ บาฮาซา อินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังมีภาษามลายูโปสีนีเซียน และภาษาท้องถิ่นอีกประมาณ 250 ภาษา ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่สำคัญรองลงมาจากภาษาประจำชาติ และถือเป็นภาษาบังคับในโรงเรียนมัธยม นอกจากนี้ยังใช้กันอย่างแพร่หลายในวงราชการและธุรกิจ สำหรับภาษาดัทช์ ใช้พูดกันในหมู่ผู้สูงอายุ  ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซียได้โครงสร้างและคำส่วนใหญ่มาจากภาษามาเลย์ ประกอบด้วยภาษาท้องถิ่นอีกมากมาย ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะรู้สองภาษา

กัมพูชา (Cambodia)

กัมพูชา (Cambodia)


ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)
ที่ตั้ง : กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก) ทิศตะวันออกติด เวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย
พื้นที่ : ขนาดกว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เส้นเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นเขตแดนติดต่อกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ (Phnom Penh)
ประชากร : 14.1 ล้านคน (ปี 2548) ประกอบด้วย ชาวเขมรร้อยละ 94 ชาวจีนร้อยละ 4 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2 มีอัตราการเพิ่มของประชากรเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี
ภูมิอากาศ : ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20 - 36 องศาเซลเซียส
ภาษา : ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทย
ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท (แยกเป็น 2 นิกายย่อย คือ ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย) และศาสนาอื่นๆ อาทิ ศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์
สกุลเงิน : เงินเรียล (Riel : KHR) อัตราแลกเปลี่ยน 4,000 เรียลเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 100 เรียล เท่ากับ 1 บาท
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชอาณาจักรกัมพูชา  (Kingdorm  of  Cambodia)
เป็นชื่อทางการของประเทศกัมพูชา หรือที่เรารู้จักกันในอีกชื่อว่า   "เขมร"   กัมพูชาเป็นแหล่งอารย 
ธรรมอันยิ่งใหญ่ของอาณาจักรขอมโบราณ  ปัจจุบันโบราณสถานที่หลงเหลืออยู่เป็นแหล่งท่อง 
เที่ยวที่สำคัญของโลก  และได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก
ในอดีตนั้นชนชาติที่อาศัยอยู่ในดินแดงนี้คือ "ขอม"   ต่อมาเรียกว่า   "เขมร"   จนเป็นกัมพูชาเช่น 
ปัจจุบัน ประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชาส่วนใหญ่เป็นชาวกัมพูชาร้อยละ 96   นอกนั้นเป็น 
ชาวเวียดนาม  จีน  และอื่นๆ
กัมพูชาแต่เดิมเคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2406 ต่อมาได้มีการเรียกร้อง

เอกราชคืนจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2490 ซี่งในขณะนั้น ฝรั่งเศสกำลังเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงครามกับ
         เวียดนาม จึงได้ตกลงให้เอกราชแก่กัมพูชา และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 กัมพูชาจึงได้รับเอก
         ราชอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาเจนีวาพร้อมกับลาว และเวียดนาม
ชาวกัมพูชาในปัจจุบันมีอุปนิสัยที่พร้อมจะจับจ่ายใช้สอยเพื่อแสดงถึงฐานะของตน  และแม้กัมพูชา 
และเป็นสังคมเกษตรกรรม   แต่ชาวกัมพูชาบางส่วนหารายได้ให้มากขึ้นด้วยการขายที่ดินให้ชาว 
ต่างชาติ  แล้วนำเงินมาซื้อรถ  โทรศัพท์มือถือ  เครื่องใช้ไฟฟ้า  หรือซื้อทองเก็บสะสมแทนเงินสด

กัมพูชาเป็นเมืองเกษตรกรรม ประชากรราวร้อยละ 85   ประกอบอาชีพเกษตรกรและอาศัยอยู่ในชน 
บท  อาชีพหลักของชาวกัมพูชาคือ   เกษตรกรประมาณ ร้อยละ 70  อยู่ในภาคบริการประมาณร้อยละ 17   
เป็นลูกจ้างโรงงานประมาณร้อยละ 8  และแรงงานก่อสร้างประมาณร้อยละ 5  ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้ไม่สูงนัก

บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

ชื่อทางการ :     เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ 
ที่ตั้ง: ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้ แบ่งออกเป็น 4 เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong
พื้นที่: 5,765 ตารางกิโลเมตร เป็นผืนแผ่นดิน 5270 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ 70% เป็นป่า เขตร้อน) และเป็นผืนน้ำ 500 ตารางกิโลเมตรโดย
ดินแดนอาณาเขต: รวม 381 กิโลเมตร มีดินแดนอาณาเขตติดกับประเทศมาเลเซียทั้งหมด
เขตชายฝั่ง: 161 กิโลเมตร
เมืองหลวง: บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ภูมิอากาศ: อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก และมี อุณหภูมิอบอุ่น โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภูมิประเทศ: พื้นที่ชายฝั่งสูงขึ้นเป็นภูเขาทางทิศตะวันออก และเนินเขาต่ำทางทิศตะวันตก
ทรัพยากรธรรมชาติ: ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และไม้
ภัยธรรมชาติ: ไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว และอุทกภัย
สิ่งแวดล้อม (ปัญหาปัจจุบัน): ควันจากไฟป่าในอินโดนีเซีย
สิ่งแวดล้อม (ความตกลงระหว่างประเทศ) : เป็นสมาชิกความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ สูญพันธ์ การปรับตัวของสิ่งแวดล้อม ขยะอันตราย การปกป้องชั้นบรรยากาศ ภาวะมลพิษจากเรือ

ประชากร 
ประชากร: 374,577 คน (ประมาณการ ปี 2550)
โครงสร้างอายุ: 0-14 ปี : 27.8% (เพศชาย 53,512 เพศหญิง 50,529) 15-64 ปี : 69 % (เพศชาย 130,134 เพศหญิง 128,488) 65 ปี และสูงกว่า : 3.1% (เพศชาย 5,688 เพศหญิง 6,226)
อัตราการเติบโตของประชากร: 1.81% ต่อปี (ประมาณการ ปี 2550)
สัญชาติ: ชาวบรูไน (Bruneian)
กลุ่มชนพื้นเมือง: มาเลย์ 67% จีน 15% ชาวพื้นเมือง 6% อื่นๆ 12%
ศาสนา: ศาสนาประจำชาติ คือ อิสลาม 67% และศาสนาอื่น ได้แก่ พุทธ 13% คริสต์ 10% และอื่นๆ 10%
ภาษา: ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น ภาษาอังกฤษ และจีน
การศึกษา: 92.7% ของประชากรทั้งหมดอ่านออกเขียนได้

              รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam) 

ประเทศบรูไน   ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ บอร์เนียว แบ่งเป็นสี่เขตคือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong มีพื้นที่ทั้งสิ้น 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน มีประชากรทั้งสิ้น 37,000 คน มีอัตราการเพิ่มของประชากรปีละ 2 เปอร์เซ็นต์ ค่า GDP เท่ากับ 11.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีอัตราการเติบโตของGDP อยู่ที่ ร้อยละ 0.4 นับเป็นประเทศที่ค่อนข้างร่ำรวยในอาเซียน GDP เฉลี่ย ต่อคนเป็นอันดับที่สามในเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์ บรูไนมีน้ำมันมากเป็นอันดับสามในภูมิภาคอาเซียน รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย จึงมีรายได้ หลักจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติโดยส่งออกไปยังญี่ปุ่น อังกฤษ ไทย สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ในขณะเดียวกัน บรูไนฯ นำเข้าสินค้าส่วนใหญ่จากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯ มาเลเซีย โดยเป็น สินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่าง ๆ และสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว และผลไม้

รัฐบาลบรูไนได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีบทบาทมากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมการ ลงทุนกับต่างประเทศและมีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้าและสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ไม่ เฉพาะแต่บริษัทในประเทศ แต่รวมถึงประเทศต่าง ๆ จากกลุ่มอาเซียนและนานาประเทศด้วย นอกจากนี้ รัฐบาล บรูไน ฯ มีนโยบายพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าและท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism – SHuTT 2003 Vision) และเป็นตลาดการขนถ่ายสินค้า ที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้อีกด้วย
การประมงทะเลของประเทศบรูไนดารูซาลัม มีมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่มากนักเมื่อเทียบกับรายได้ของ ประเทศที่ได้จากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ อย่างไรก็ตามสัตว์น้ำจัดว่าเป็นอาหารโปรตีนที่มีความสำคัญต่อ ประชากรของบูรไน คนบรูไนรับประทานปลาสูงถึงคนละ 45 กิโลกรัมต่อปี ทำให้บรูไนต้องนำเข้าอาหาร ทะเลเพื่อการบริโภคปีละ 7,750 ตัน หรือร้อยละ 50 ของความต้องการบริโภคปลาทั้งหมด 15,500 ตัน นอกจากนี้อุตสาหกรรมประมง ป่าไม้ การเกษตรนับเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับบรูไนเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็น 10.72% และเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าส่งออกเป็นอันดับ 5 ของประเทศ โดยโรงงานผลิต สินค้าประเภทปลาในบรูไนส่วนใหญ่ในเวลานี้เริ่มส่งสินค้าเหล่านี้ออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศมาก ขึ้น

บรูไนได้รับประโยชน์จากการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ ทำให้มีแหล่งน้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติซึ่งทำรายได้หลักให้กับประเทศทำให้การพัฒนาด้านการประมงไม่มีความจำเป็นมากนัก อย่างไรก็ ตามรัฐบาลไม่ต้องการพึ่งพาเศรษฐกิจจากน้ำมันและก๊าซเพียงอย่างเดียว จึงหันมาส่งเสริมการทำประมง พาณิชย์อย่างจริงจังโดยให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย ปัจจุบันบรูไนมีชาวประมงเพียง 925 คน โดยส่วน ใหญ่เป็นชาวประมงขนาดเล็ก

ในขณะที่ส่งเสริมให้มีการทำประมง รัฐบาลก็มีการควบคุมไม่ให้ การทำประมงเกินศักย์สูงสุดที่มีอยู่ จึงอนุญาตให้ทำการประมงได้เพียงร้อย ละ 80 ของศักย์การผลิตสูงสุด หรือประมาณ 21,300 ตันต่อปี แบ่งออกเป็น ปลาหน้าดิน 12,500 ตัน และปลาผิวน้ำ 8,800 ตัน นอกจากนี้น่านน้ำของ บรูไนยังเป็นเส้นทางอพยพย้ายถิ่นของปลาทูน่าด้วย บรูไนจึงวางแผนการ สำรวจ และการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย
ในปี 2544 บรูไนมีผลผลิตจากการจับปลาทะเลประมาณ 10,343 ตัน และได้ส่งเสริมให้มีการทำ ประมงพาณิชย์มากขึ้น โดยการใช้เรือติดเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ทำการประมงอวนลาก และอวนล้อมในทะเล ที่ใกล้ฝั่งออกไป บรูไนแบ่งเขตการทำการประมงทะเลเป็น 3 เขต คือ เขต 1, 2 และ 3 โดยขออนุญาตให้ เรือประมงพาณิชย์ทำการประมงในเขต 2 และ 3 เท่านั้น เขต 2 ระยะ ระหว่าง 3-20 ไมล์ทะเล เขต 3 ระยะ ระหว่าง 20-45 ไมล์ทะเล โดยเครื่องมือประมงที่อนุญาตให้ทำการประมงในเขต 2 และ 3 ได้แก่ อวนลาก อวนล้อม และเบ็ดราวทูน่า

บรูไนมีการเชิญชวนให้ต่างชาติไปลงทุนจับปลาในบรูไนได้ด้วย โดยการทำประมงในน่านน้ำบรูไน จะต้องดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุน(joint-venture) หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ผู้ประกอบการบรูไนสามารถเช่า เรือประมงต่างชาติ (chartering) พร้อมลูกเรือเข้าไปทำการประมงในบรูไน โดยเรือต่างชาติเหล่านี้จะต้องทำ การประมงในเขต 3 หรือระยะ 20 ไมล์ทะเลออกไป และต้องใช้อวนลากปลาที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 38 มิลลิเมตร และจะต้องนำปลาไปขึ้นที่ท่าที่กำหนดก่อนส่งออกไปยังประเทศต่างๆ

ปัจจุบันมีผู้ประกอบการบรูไน จำนวน 2 บริษัท สามารถเช่าเรือประมงต่างชาติจำนวน 19 ลำเข้าไป ทำการประมงอวนลาก อวนล้อม และเบ็ดราว ในบรูไนได้

การประมงไทยในบรูไนดารูซาลัม
สำหรับประเทศไทยนั้น ได้เคยมีผู้ประกอบการไทยนำเรือไปให้เช่าจำนวน 6 ลำ แต่เมื่อทำการ ประมงไปได้ระยะหนึ่งก็ประสบปัญหาว่าด้วยระเบียบปฏิบัติ และความคุ้มทุนเนื่องจากพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตมี ปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำไม่มากนัก ประกอบกับสภาพท้องทะเลมีความลึกมากและเป็นพื้นโคลนที่ไม่เหมาะ สำหรับทำการประมง จึงได้ถอนเรือออกมา ล่าสุดในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู เมื่อ 13-15 มกราคม 2550 ไทยและบรูไนได้ จัดตั้งกลไกความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกัน ซึ่งได้มีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความสัมพันธ์และความ ร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การทหาร การค้า การลงทุน (รวมทั้งการประมง อุตสาหกรรม ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย) แรงงาน ความร่วมมือด้านวิชาการ การท่องเที่ยว และ การ สื่อสารและ วัฒนธรรม ผลการประชุมแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง ประเทศให้มีความคืบหน้ามากยิ่งขึ้น เนื่องจากบรูไนเน้นเรื่องการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้การ พัฒนาด้านการประมงยังมีไม่มากนัก ส่งผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์และ สามารถรองรับการพัฒนาและขยายกิจการประมงทะเลเพิ่มขึ้นได้ ผลการเยือนบรูไนในปี 2544 ฝ่ายไทยเสนอให้มีความร่วมมือด้านการประมงไทย-บรูไนมากขึ้น ใน ลักษณะเดียวกันกับความร่วมมือด้านการประมงไทย–มาเลเซีย (ซาราวัก) ขณะนี้ บรูไนเช่าเรือไทย ไปทำการประมงเพียง 2- 3 ลำในขณะที่ประเทศอื่น ๆ เข้าไปทำการประมงประมาณ 30 ลำแล้ว ฝ่าย ไทยเสนอให้ฝ่ายบรูไนเพิ่มการเช่าเรือประมงไทยมากขึ้น ฝ่ายไทยแจ้งด้วยว่า สมาคมการประมง ไทยพร้อมที่จะเข้าไปร่วมลงทุนกับฝ่ายบรูไนในด้านการแปรรูปสินค้าประมง

อาเซียน +3 (อาเซียน บวกสาม)

อาเซียน +3 (อาเซียน บวกสาม)
               กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN+3) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม 3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยให้อาเซียนและกระบวนการต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามเมื่อปี 2007 (พ.ศ.2550)

               ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2 (Second Joint Statement on East Asia Cooperation: Building on the Foundations of ASEAN Plus Three Cooperation) พร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน (ASEAN+3 Cooperation Work Plan (2007 – 2017)) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระยะยาว และผลักดันให้เกิดชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา และด้านการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆและกลไกต่างๆ ในการติดตามผล โดยแผนความร่วมมือดังกล่าวทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นการประสานความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศในเอเชียตะวันออกมากยิ่งขึ้น

               อาเซียน +3   ประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรโลก แต่เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพีโลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันจะสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลก โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาเซียน+3 จะมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

               จากความร่วมมือดังกล่าวประเทศสมาชิกอาเซียน จะได้รับผลประโยชน์จากความร่วมมือในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียนบวก+3 (FTA Asian +3) มูลค่าประมาณ 62,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,943 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน คือประมาณ 7,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเวียดนามคาดว่าจะได้รับประโยชน์มูลค่าประมาณ 5,293 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

               สำหรับการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน + 3 สมัยพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) ที่ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนการใช้เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน อาทิ ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐมนตรีคลังสนับสนุนให้มีกระบวนการเฝ้าระวัง โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินในภูมิภาคและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อริเริ่มเชียงใหม่ ที่รัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 จำเป็นจะต้องเร่งรัดกระบวนการไป สู่ระดับพหุภาคี เพื่อเป็นกันชนรองรับเศรษฐกิจอ่อนแอในอนาคต

               ทั้งนี้ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า จะขยายผลความตกลงริเริ่มเชียงใหม่ในการจัดตั้งกองทุนสำรองระหว่างประเทศร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน (Currency Swap) จากเดิม 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท เบื้องต้นคาดว่า 3 ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน คือจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น จะลงเงินสำรองร้อยละ 80 ของวงเงิน รวม หรือ 9.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลุ่มประเทศอาเซียนอีกร้อยละ 20 หรือ 2.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะมีรูปแบบคล้ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund :IMF) แต่ก็ไม่ใช่คู่แข่งของ IMF แต่จะเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของเอเชียที่จะมีกองทุนระหว่างประเทศเป็นของตนเอง โดยประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ลงเงินรวมกันประมาณร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 ที่เหลือกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ จะลงทุนร่วมกัน ขณะที่ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จะต้องใส่เงินลงทุนมากกว่าอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา เนื่องจากมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า โดยคาดว่าจะสามารถเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณารัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 วาระปกติที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤษภาคม 2552 

อาเซียน +6 (อาเซียน บวกหก)

อาเซียน +6 (อาเซียน บวกหก)
จัดตั้งขึ้นเพื่ออะไร
          สำหรับ "อา เซียน +6"  หรือ FTA ASEAN PLUS 6  ก็คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก 6 ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน +6 มีประชากรรวมกันกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลกเลยทีเดียว

          หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมอาเซียนต้องรวมกลุ่มกับอีก 6 ประเทศนอกอาเซียนด้วย คำตอบก็คือ การ รวมกลุ่มอาเซียน +6 นี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มในการลงทุน การทำการค้า ฯลฯ ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมทำข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น พร้อมกับผนวกกำลังของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกัน เพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น
ความเป็นมาของอาเซียน +6
          ที่ มาของแนวคิด "อาเซียน +6" นี้ เริ่มขึ้นครั้งแรกในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI) และ AEM+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาควิชาการ (Track II) ของกลุ่มประเทศ East Asia Summit (EAS ประกอบด้วยอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Comprehensive Economic Partnership in East Asia (CEPEA) ซึ่งเป็น FTA ระหว่างประเทศอาเซียน+6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์)
          จากนั้น ในการประชุม East Asia Summit ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองเชบู ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ ประชุมก็มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาเรื่องดังกล่าว โดยประเทศญี่ปุ่นได้จัดประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอา เซียน+6 (CEPEA)

          ทั้งนี้ กลุ่มนักวิชาการได้ประชุมร่วมกันทั้งหมด 6 ครั้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2551 ก่อนจะได้ผลสรุปว่า หากมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้เกิดความสะดวกในด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ พลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศ

          เมื่อได้ข้อสรุปดังนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงมีมติให้ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำความตกลง การค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ในระยะที่ 2 โดยเน้นเรื่องความร่วมมือ (Cooperation), การอำนวยความสะดวก (Facilitation) และการเปิดเสรี (Liberalization)ที่จะช่วยสร้างความสามารถของประเทศสมาชิก เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน+6 (CEPEA)

          ทั้งนี้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญก็ได้ข้อสรุปว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศ อาเซียน+6 (CEPEA) ควรให้ความสำคัญเรื่องความร่วมมือเป็นอันดับแรก พร้อมกับเน้นพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ในแต่ละประเทศ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer of Technology) และสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งควรพิจารณาจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก เพื่อช่วยรองรับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น และสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อไป
ประโยชน์ของอาเซียน +6
          จากรายงาน การศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 พบว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% หรือหากวัดเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะเพิ่มขึ้น 3.83% และเมื่อดูเฉพาะของประเทศไทยแล้วจะพบว่า ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 4.78% เลยทีเดียว ในขณะที่ประเทศ+6 มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้น 2.6%

นอกจากนี้ อาเซียน +6 จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก ดังนี้

          1.ขยายอุปสงค์ภายในภูมิภาค (Domestic demand within the region)
          2.เพิ่มประสิทธิผลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นความชำนาญในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศ (Product specialization)
          3.พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะเรื่อง Logistics ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในแต่ละประเทศ สมาชิก รวมถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่แน่นเฟ้นยิ่งขึ้น

อัตลักษณ์อาเซียน

อัตลักษณ์อาเซียน             อาเซียนจะต้องส่งเสริมอัตลักษณ์ร่วมกันของตนและความรู้สึกเป็นเจ้าของในหมู่ประชาชนของตน  เพื่อให้บรรลุชะตา  เป้าหมาย  และคุณค่าร่วมกันของอาเซียน


                          
สัญลักษณ์อาเซียน
              คือ   ดวงตราอาเซียนเป็น
              รูปมัดรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นวงกลม
              สีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาว  และสีน้ำเงิน
              รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ  ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
              วงกลม  เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเอกภาพของอาเซียน
              ตัวอักษรคำว่า  asean  สีน้ำเงิน  อยู่ใต้ภาพรวงข้าว  แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง  สันติภพ  เอกภาพ  และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
              สีเหลือง    :   หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
              สีแดง       :    หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
              สีขาว       :    หมายถึง ความบริสุทธิ์
              สีน้ำเงิน    :    หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง


ธงอาเซียน
              ธงอาเซียนเป็นธงพื้นสีน้ำเงิน  มีดวงตราอาเซียนอยู่ตรงกลาง  แสดงถึงเสถียรภาพ  สันติภาพ  ความสามัคคี  และพลวัตของอาเซียน
สีของธงประกอบด้วย  สีน้ำเงิน  สีแดง  สีขาว  และสีเหลือง  ซึ่งเป็นสีหลักในธงชาติของบรรดาประเทศสมาชิกของอาเซียนทั้งหมด



วันอาเซียน
              ให้วันที่  8  สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันอาเซียน

เพลงประจำอาเซียน (ASEAN  Anthem) 
              คือ  เพลง  ASEAN  WAY


กฎบัตรอาเซียน 
              กฎบัตรอาเซียน  กำหนดให้อาเซียนและประเทศสมาชิกปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้
              1.  เคารพเอกราช  อธิปไตย  ความเสมอภาค  บูรณภาพแห่งดินแดน  และอัตลักษณ์แห่งชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
              2.  ผูกพันและรับผิดชอบร่วมกันในการเพิ่มพูนสันติภาพ  ความมั่นคง  และความมั่งคั่งของภูมิภาค
              3.  ไม่รุกรานหรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังหรือการกระทำอื่นใดในลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
              4.  ระงับข้อพิพาทโดยสันติ
              5.  ไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน
              6.  เคารพสิทธิของรัฐสมาชิกทุกรัฐในการธำรงประชาชาติของตนโดยปราศจากการแทรกแซง  การบ่อนทำลาย  และการบังคับจากภายนอก
              7.  ปรึกษาหารือที่เพิ่มพูนขึ้นในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียน
              8.  ยึดมั่นต่อหลักนิติธรรม  ธรรมาภิบาล  หลักการประชาธิปไตยและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ
              9.  เคารพเสรีภาพพื้นฐาน  การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  และการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม
              10.  ยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ    รวมถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ  ที่  รัฐสมาชิกอาเซียนยอมรับ
              11.  ละเว้นจากการมีส่วนร่วมในการคุกคามอธิปไตย  บูรณภาพแห่งดินแดนหรือเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกอาเซียน
              12. เคารพในวัฒนธรรม  ภาษา  และศาสนาที่แตกต่างของประชาชนอาเซียน
              13.  มีส่วนร่วมกับอาเซียนในการสร้างความสัมพันธ์กับภายนอกทั้งในด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม  โดยไม่ปิดกั้นและไม่เลือกปฏิบัติ
              14. ยึดมั่นในกฎการค้าพหุภาคีและระบอบของอาเซียน

ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจาก AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)
           ประชาคมอาเซียนที่จะถือกำเนิดในปี 2558 นั้น คนไทยจะได้ประโยชน์อะไร แน่นอนเราคงอยากทราบ แต่ในชั้นนี้ขอจำกัดเฉพาะทางเศรษฐกิจก่อน
              ประการแรก ไทยจะ “มีหน้ามีตาและฐานะ” เด่นขึ้นประชาคมอาเซียนจะทำให้เศรษฐกิจ “ของเรา” มีมูลค่ารวมกัน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีขนาดใหญ่อันดับ 9 ของโลก ยังประโยชน์แก่คนไทยทุกคนที่จะได้ยืนอย่างสง่างาม “ยิ้มสยาม” จะคมชัดขึ้น
              ประการที่สอง การค้าระหว่างไทยกับประเทศอาเซียนจะคล่องและขยายตัวมากขึ้น กำแพงภาษีจะลดลงจนเกือบจะหมดไป เพราะ 10 ตลาดกลายเป็นตลาดเดียว ผู้ผลิตจะส่งสินค้าไปขายในตลาดนี้และขยับขยายธุรกิจของตนง่ายขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็จะมีทางเลือกมากขึ้นราคาสินค้าจะถูกลง
              ประการที่สาม ตลาดของเราจะใหญ่ขึ้น แทนที่จะเป็นตลาดของคน 67 ล้านคน ก็จะกลายเป็นตลาดของคน 590 ล้านคน ซึ่งจะทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจ เพราะสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยสามารถส่งออกไปยังอีกเก้าประเทศได้ราวกับส่งไปขายต่างจังหวัด ซึ่งก็จะช่วยให้เราสามารถแข่งขันกับจีนและอินเดียในการดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้น
              ประการที่สี่ความเป็นประชาคมจะทำให้มีการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารคมนาคมระหว่างกันเพื่อประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน แต่ก็ยังผลพลอยได้ในแง่การไปมาหาสู่กัน ซึ่งก็จะช่วยให้คนในอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์กัน รู้จักกัน และสนิทแน่นแฟ้นกันมากขึ้น เป็นผลดีต่อสันติสุข ความเข้าใจอันดีและความร่วมมือกันโดยรวม นับเป็นผลทางสร้างสรรค์ในหลายมิติด้วยกัน
              ประการที่ห้า โดยที่ ไทยตั้งอยู่ในจุดกึ่งกลางบนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่อาเซียน ประเทศไทยย่อมได้รับประโยชน์จากปริมาณการคมนาคมขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับจีน (และอินเดีย) มากยิ่งกว่าประเทศอื่นๆ
บริษัทด้านขนส่ง คลังสินค้า ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ จะได้รับประโยชน์อย่างชัดเจน จริงอยู่ ประชาคมอาเซียนจะยังผลทั้งด้านบวกและลบต่อประเทศไทย ขึ้นอยู่กับพวกเราคนไทยจะเตรียมตัวอย่างไร แต่ผลทางบวกนั้นจะชัดเจน เป็นรูปธรรมและจับต้องได้

อาเซียน

อาเซียน

asean258
                อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ  10  ประเทศ   ในทวีปเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้  ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย  ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)    คือ   เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย   มาเลเซีย และฟิลิปปินส์   ได้ร่วมกันจัดตั้ง   สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504   เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  แต่  
ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง  เนื่องจากความผกผันทางการเมือง 
ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูต
ระหว่างสองประเทศ 
          จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ  อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี   เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน 
         ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความ
เข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน

องค์ความรู้ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) >>ไปที่ http://www.thai-
aec.com/

ความเป็นมาของอาเซียน
              สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association  of  Southeast  Asian  Nations  หรือ  ASEAN)  ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ  (Bangkok  Declaration)  หรือ  ปฏิญญาอาเซียน  (ASEAN  Declaration)  เมื่อวันที่  8  สิงหาคม  2510  โดยมีประเทศสมาชิก  5  ประเทศ  ประกอบด้วย  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  และไทย
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจและสังคม  ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม  ได้แก่  บรูไนดารุส-ซาลาม   เวียดนาม   ลาว   เมียนมาร์  และกัมพูชา  ตามลำดับ   จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน   มีสมาชิก  10  ประเทศ

“อาเซียน” สู่การเป็นประชาคมอาเซียน  ในปี 2558 
              ปัจจุบัน  บริบททางการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม   รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก      ทำให้อาเซียนต้องเผชิญ สิ่งท้าทายใหม่ๆ    อาทิ    โรคระบาด    การก่อการร้าย   ยาเสพติด  การค้ามนุษย์  สิ่งแวดล้อม  ภัยพิบัติ  อีกทั้ง  ยังมีความจำเป็นต้องรวมตัวกันเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถทางการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง  และในเวทีระหว่างประเทศ  ผู้นำอาเซียนจึงเห็นพ้องกันว่า  อาเซียนควรจะร่วมมือกันให้เหนียวแน่น  เข้มแข็ง  และมั่นคงยิ่งขึ้น  จึงได้ประกาศ  “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน  ฉบับที่ 2”  (Declaration  of  ASEAN  Concord  II)  ซึ่งกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนที่ประกอบไปด้วย  3  เสาหลัก ได้แก่
              -  ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community - APSC) มุ่งให้ประเทศกลุ่มสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยสันติวิธี มีเสถียรภาพและความมั่นคงรอบด้าน เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของเหล่าประชาชน
              -  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) มุ่งเน้นให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้โดย
              -   ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio - Cultural Community - ASCC) มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา
              ซึ่งต่อมาผู้นำอาเซียนได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นมาเป็นภายในปี 2558


ประชาคมอาเซียน คือ
              ประชาคมอาเซียน  (ASEAN  Community)  คือ  การรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นชุมชนที่มีความแข็งแกร่ง  สามารถสร้างโอกาสและรับมือส่งท้าท้าย  ทั้งด้านการเมืองความมั่นคง  เศรษฐกิจ  และภัยคุกคามรูปแบบใหม่  โดยสมาชิกในชุมชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี  สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น  และสมาชิก  ในชุมชนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน




จุดประสงค์หลักของอาเซียน
              ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
              1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
              2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
              3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
              4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
              5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
              6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
              7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ  และองค์การระหว่างประเทศ


ภาษาอาเซียน
              ภาษาทางการที่ใช้ในการติดต่อประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก  คือ  ภาษาอังกฤษ

คำขวัญของอาเซียน
                                           "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
                                           (One Vision, One Identity, One Community)

ความเป็นมาของ ฟุตบอลโลก

ความเป็นมาของ ฟุตบอลโลก


       ฟุตบอลโลก หรือ ฟุตบอลโลกฟีฟ่า (FIFA World Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศโดยทีมฟุตบอลชายร่วมเข้าแข่ง จัดการแข่งขันโดยฟีฟ่า (ฟีฟ่ายังคงเป็นผู้จัด ฟุตบอลโลกหญิงเช่นกัน) ฟุตบอลโลกเริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2473(ค.ศ.1930) ใน ฟุตบอลโลก 1930 และจัดต่อเนื่องมาทุก 4 ปี ยกเว้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (1942, 1946)
ภายหลังจากการแข่งขันรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายจะประกอบด้วยทีมชาติ 32 ทีม (เพิ่มจาก 24 ทีมเป็น 32 ทีมใน ฟุตบอลโลก 1998) ร่วมแข่งขันกันเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน และได้ชื่อว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก โดยใน ฟุตบอลโลก 2002 มีสถิติผู้ชมประมาณ 1,100 ล้านคนทั่วโลก
เมื่อจบการแข่งขันจะมีการมอบรางวัลต่างๆ สำหรับนักฟุตบอลยอดเยี่ยม ดูได้ที่ รางวัลฟุตบอลโลก
สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งต่อไป ฟุตบอลโลก 2010 จะถูกจัดขึ้นที่ ประเทศแอฟริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2553 และฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล ในปี พ.ศ. 2557
สถิติสำคัญ
  • ชัยชนะสูงสุด
    • ฮังการี 9-0 เกาหลีใต้ (1954)
    • ยูโกสลาเวีย 9-0 ซาอีร์ (1974)
    • ฮังการี 10-1 เอลซัลวาดอร์ (1982)
  • ชัยชนะสูงสุดในรอบคัดเลือก - ออสเตรเลีย 31-0 อเมริกันซามัว (รอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 2002)
  • ผู้เล่นในฟุตบอลโลกสูงสุด - 5 ครั้ง - แอนโทนีโอ คาร์บาฮาล (เม็กซิโก, 1950-1966) และ โลทาร์ มัทเทอูส (เยอรมนี, 1982-1998)
  • ผู้เล่นลงสนามในฟุตบอลโลกสูงสุด - 25 นัด - โลทาร์ มัทเทอูส (เยอรมนี)
  • ผู้เล่นทำประตูสูงสุด - 15 ประตู - โรนัลโด (บราซิล 18 นัด 4 ฟุตบอลโลก)
  • ผู้เล่นทำประตูเร็วสุด - 11 วินาที - ฮาคาน ชูเคอร์ (ตุรกี) นัดแข่งกับทีมชาติเกาหลีใต้ (2002)
  • ผู้เล่นอายุน้อยสุดที่ทำประตูได้ - 17 ปี 239 วัน - เปเล่ (บราซิล) นัดแข่งกับ ทีมชาติเวลส์ (1958)
  • ผู้เล่นอายุมากสุดที่ทำประตูได้ - 42 ปี 39 วัน - โรเจอร์ มิลลา (แคเมอรูน) นัดแข่งกับ ทีมชาติรัสเซีย (1994)
  • นัดที่ใบเหลืองและใบแดงมากสุด - 16 ใบเหลือง 4 ใบแดง - โปรตุเกส-เนเธอร์แลนด์ (2006) กรรมการ วาเลนติน วาเลนติโนวิช อิวานอฟ ชาวรัสเซีย

ผู้เล่นทำประตูสูงสุดในฟุตบอลโลก

อันดับผู้เล่น, ทีมประตูที่ได้ทัวร์นาเมนต์ / เกมที่ลงเล่น
1โรนัลโด้, บราซิล154 ครั้ง 1994 1998 2002 2006 (18 นัด, ไม่ได้ลงเล่นใน 1994)
2เกิร์ด มุลเลอร์, เยอรมนี142 ครั้ง 1970 1974 (14 นัด)
3ชุสต์ ฟงแตน, ฝรั่งเศส131 ครั้ง 1958 (6 นัด)
4เปเล่, บราซิล124 ครั้ง 1958 1962 1966 1970 (14 นัด)
5ซานดอร์ โคซ์ชิส, ฮังการี111 ครั้ง 1954 (5 นัด)
5เยอร์เกน คลินส์มัน, เยอรมนี113 ครั้ง 1990 1994 1998 (17 นัด)