วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

ชื่อทางการ :     เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ 
ที่ตั้ง: ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้ แบ่งออกเป็น 4 เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong
พื้นที่: 5,765 ตารางกิโลเมตร เป็นผืนแผ่นดิน 5270 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ 70% เป็นป่า เขตร้อน) และเป็นผืนน้ำ 500 ตารางกิโลเมตรโดย
ดินแดนอาณาเขต: รวม 381 กิโลเมตร มีดินแดนอาณาเขตติดกับประเทศมาเลเซียทั้งหมด
เขตชายฝั่ง: 161 กิโลเมตร
เมืองหลวง: บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ภูมิอากาศ: อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก และมี อุณหภูมิอบอุ่น โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส
ภูมิประเทศ: พื้นที่ชายฝั่งสูงขึ้นเป็นภูเขาทางทิศตะวันออก และเนินเขาต่ำทางทิศตะวันตก
ทรัพยากรธรรมชาติ: ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และไม้
ภัยธรรมชาติ: ไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว และอุทกภัย
สิ่งแวดล้อม (ปัญหาปัจจุบัน): ควันจากไฟป่าในอินโดนีเซีย
สิ่งแวดล้อม (ความตกลงระหว่างประเทศ) : เป็นสมาชิกความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ สูญพันธ์ การปรับตัวของสิ่งแวดล้อม ขยะอันตราย การปกป้องชั้นบรรยากาศ ภาวะมลพิษจากเรือ

ประชากร 
ประชากร: 374,577 คน (ประมาณการ ปี 2550)
โครงสร้างอายุ: 0-14 ปี : 27.8% (เพศชาย 53,512 เพศหญิง 50,529) 15-64 ปี : 69 % (เพศชาย 130,134 เพศหญิง 128,488) 65 ปี และสูงกว่า : 3.1% (เพศชาย 5,688 เพศหญิง 6,226)
อัตราการเติบโตของประชากร: 1.81% ต่อปี (ประมาณการ ปี 2550)
สัญชาติ: ชาวบรูไน (Bruneian)
กลุ่มชนพื้นเมือง: มาเลย์ 67% จีน 15% ชาวพื้นเมือง 6% อื่นๆ 12%
ศาสนา: ศาสนาประจำชาติ คือ อิสลาม 67% และศาสนาอื่น ได้แก่ พุทธ 13% คริสต์ 10% และอื่นๆ 10%
ภาษา: ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น ภาษาอังกฤษ และจีน
การศึกษา: 92.7% ของประชากรทั้งหมดอ่านออกเขียนได้

              รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam) 

ประเทศบรูไน   ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ บอร์เนียว แบ่งเป็นสี่เขตคือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong มีพื้นที่ทั้งสิ้น 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน มีประชากรทั้งสิ้น 37,000 คน มีอัตราการเพิ่มของประชากรปีละ 2 เปอร์เซ็นต์ ค่า GDP เท่ากับ 11.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีอัตราการเติบโตของGDP อยู่ที่ ร้อยละ 0.4 นับเป็นประเทศที่ค่อนข้างร่ำรวยในอาเซียน GDP เฉลี่ย ต่อคนเป็นอันดับที่สามในเอเชีย รองจากญี่ปุ่นและสิงคโปร์ บรูไนมีน้ำมันมากเป็นอันดับสามในภูมิภาคอาเซียน รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย จึงมีรายได้ หลักจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติโดยส่งออกไปยังญี่ปุ่น อังกฤษ ไทย สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ในขณะเดียวกัน บรูไนฯ นำเข้าสินค้าส่วนใหญ่จากสิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐฯ มาเลเซีย โดยเป็น สินค้าประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องมือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่าง ๆ และสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว และผลไม้

รัฐบาลบรูไนได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีบทบาทมากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมการ ลงทุนกับต่างประเทศและมีมาตรการเปิดเสรีด้านการค้าและสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ไม่ เฉพาะแต่บริษัทในประเทศ แต่รวมถึงประเทศต่าง ๆ จากกลุ่มอาเซียนและนานาประเทศด้วย นอกจากนี้ รัฐบาล บรูไน ฯ มีนโยบายพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการค้าและท่องเที่ยว (Service Hub for Trade and Tourism – SHuTT 2003 Vision) และเป็นตลาดการขนถ่ายสินค้า ที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้อีกด้วย
การประมงทะเลของประเทศบรูไนดารูซาลัม มีมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่มากนักเมื่อเทียบกับรายได้ของ ประเทศที่ได้จากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ อย่างไรก็ตามสัตว์น้ำจัดว่าเป็นอาหารโปรตีนที่มีความสำคัญต่อ ประชากรของบูรไน คนบรูไนรับประทานปลาสูงถึงคนละ 45 กิโลกรัมต่อปี ทำให้บรูไนต้องนำเข้าอาหาร ทะเลเพื่อการบริโภคปีละ 7,750 ตัน หรือร้อยละ 50 ของความต้องการบริโภคปลาทั้งหมด 15,500 ตัน นอกจากนี้อุตสาหกรรมประมง ป่าไม้ การเกษตรนับเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับบรูไนเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็น 10.72% และเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าส่งออกเป็นอันดับ 5 ของประเทศ โดยโรงงานผลิต สินค้าประเภทปลาในบรูไนส่วนใหญ่ในเวลานี้เริ่มส่งสินค้าเหล่านี้ออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศมาก ขึ้น

บรูไนได้รับประโยชน์จากการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ ทำให้มีแหล่งน้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติซึ่งทำรายได้หลักให้กับประเทศทำให้การพัฒนาด้านการประมงไม่มีความจำเป็นมากนัก อย่างไรก็ ตามรัฐบาลไม่ต้องการพึ่งพาเศรษฐกิจจากน้ำมันและก๊าซเพียงอย่างเดียว จึงหันมาส่งเสริมการทำประมง พาณิชย์อย่างจริงจังโดยให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย ปัจจุบันบรูไนมีชาวประมงเพียง 925 คน โดยส่วน ใหญ่เป็นชาวประมงขนาดเล็ก

ในขณะที่ส่งเสริมให้มีการทำประมง รัฐบาลก็มีการควบคุมไม่ให้ การทำประมงเกินศักย์สูงสุดที่มีอยู่ จึงอนุญาตให้ทำการประมงได้เพียงร้อย ละ 80 ของศักย์การผลิตสูงสุด หรือประมาณ 21,300 ตันต่อปี แบ่งออกเป็น ปลาหน้าดิน 12,500 ตัน และปลาผิวน้ำ 8,800 ตัน นอกจากนี้น่านน้ำของ บรูไนยังเป็นเส้นทางอพยพย้ายถิ่นของปลาทูน่าด้วย บรูไนจึงวางแผนการ สำรวจ และการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย
ในปี 2544 บรูไนมีผลผลิตจากการจับปลาทะเลประมาณ 10,343 ตัน และได้ส่งเสริมให้มีการทำ ประมงพาณิชย์มากขึ้น โดยการใช้เรือติดเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ทำการประมงอวนลาก และอวนล้อมในทะเล ที่ใกล้ฝั่งออกไป บรูไนแบ่งเขตการทำการประมงทะเลเป็น 3 เขต คือ เขต 1, 2 และ 3 โดยขออนุญาตให้ เรือประมงพาณิชย์ทำการประมงในเขต 2 และ 3 เท่านั้น เขต 2 ระยะ ระหว่าง 3-20 ไมล์ทะเล เขต 3 ระยะ ระหว่าง 20-45 ไมล์ทะเล โดยเครื่องมือประมงที่อนุญาตให้ทำการประมงในเขต 2 และ 3 ได้แก่ อวนลาก อวนล้อม และเบ็ดราวทูน่า

บรูไนมีการเชิญชวนให้ต่างชาติไปลงทุนจับปลาในบรูไนได้ด้วย โดยการทำประมงในน่านน้ำบรูไน จะต้องดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุน(joint-venture) หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ผู้ประกอบการบรูไนสามารถเช่า เรือประมงต่างชาติ (chartering) พร้อมลูกเรือเข้าไปทำการประมงในบรูไน โดยเรือต่างชาติเหล่านี้จะต้องทำ การประมงในเขต 3 หรือระยะ 20 ไมล์ทะเลออกไป และต้องใช้อวนลากปลาที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 38 มิลลิเมตร และจะต้องนำปลาไปขึ้นที่ท่าที่กำหนดก่อนส่งออกไปยังประเทศต่างๆ

ปัจจุบันมีผู้ประกอบการบรูไน จำนวน 2 บริษัท สามารถเช่าเรือประมงต่างชาติจำนวน 19 ลำเข้าไป ทำการประมงอวนลาก อวนล้อม และเบ็ดราว ในบรูไนได้

การประมงไทยในบรูไนดารูซาลัม
สำหรับประเทศไทยนั้น ได้เคยมีผู้ประกอบการไทยนำเรือไปให้เช่าจำนวน 6 ลำ แต่เมื่อทำการ ประมงไปได้ระยะหนึ่งก็ประสบปัญหาว่าด้วยระเบียบปฏิบัติ และความคุ้มทุนเนื่องจากพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตมี ปริมาณทรัพยากรสัตว์น้ำไม่มากนัก ประกอบกับสภาพท้องทะเลมีความลึกมากและเป็นพื้นโคลนที่ไม่เหมาะ สำหรับทำการประมง จึงได้ถอนเรือออกมา ล่าสุดในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู เมื่อ 13-15 มกราคม 2550 ไทยและบรูไนได้ จัดตั้งกลไกความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกัน ซึ่งได้มีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมความสัมพันธ์และความ ร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การทหาร การค้า การลงทุน (รวมทั้งการประมง อุตสาหกรรม ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย) แรงงาน ความร่วมมือด้านวิชาการ การท่องเที่ยว และ การ สื่อสารและ วัฒนธรรม ผลการประชุมแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง ประเทศให้มีความคืบหน้ามากยิ่งขึ้น เนื่องจากบรูไนเน้นเรื่องการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้การ พัฒนาด้านการประมงยังมีไม่มากนัก ส่งผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์และ สามารถรองรับการพัฒนาและขยายกิจการประมงทะเลเพิ่มขึ้นได้ ผลการเยือนบรูไนในปี 2544 ฝ่ายไทยเสนอให้มีความร่วมมือด้านการประมงไทย-บรูไนมากขึ้น ใน ลักษณะเดียวกันกับความร่วมมือด้านการประมงไทย–มาเลเซีย (ซาราวัก) ขณะนี้ บรูไนเช่าเรือไทย ไปทำการประมงเพียง 2- 3 ลำในขณะที่ประเทศอื่น ๆ เข้าไปทำการประมงประมาณ 30 ลำแล้ว ฝ่าย ไทยเสนอให้ฝ่ายบรูไนเพิ่มการเช่าเรือประมงไทยมากขึ้น ฝ่ายไทยแจ้งด้วยว่า สมาคมการประมง ไทยพร้อมที่จะเข้าไปร่วมลงทุนกับฝ่ายบรูไนในด้านการแปรรูปสินค้าประมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น